กลิ่นปาก
มาจากไหน?
เมื่อพบว่ามีปัญหากลิ่นปาก การแปรงฟัน อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อดับกลิ่นปากนั้นก็สามารถช่วยได้เฉพาะกับสาเหตุของกลิ่นปากที่ไม่เรื้อรัง เช่น รับประทานอาหารกลิ่นแรง ส่วนคนที่มีปัญหากลิ่นปากเรื้อรัง ก็จะต้องตรวจหาและแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อให้กลิ่นปากหมดไปอย่างถาวร
กลิ่นปากมาจากไหนได้บ้าง ?
- ฟันผุ
ควรตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และอุดฟันเมื่อพบฟันผุ ลดการบริโภคน้ำตาล โดยหลีกเลี่ยงหรือลดการดื่มเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสหวาน รวมถึงใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในการแปรงฟันเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ
2. โรคเหงือกอักเสบและคราบหินปูน
สามารถป้องกันได้ด้วยการแปรงฟันตามสูตร 2-2-2 คือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งแปรงนานอย่างน้อย 2 นาที และงดกิน/ดื่มหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจฟัน ในกรณีที่พบหินปูนก็ควรรีบขูด
4. แผลในช่องปาก
ไม่ว่าจะร้อนในหรือแผลชนิดอื่น ๆ ถ้าหากไม่ร้ายแรงก็จะสามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากไม่หายภายใน 3 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแแรงขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ค่ะ
5.คราบขาวบนลิ้น
ควรใช้ที่กวาดลิ้นทำความสะอาดลิ้นร่วมกับการแปรงฟัน หรือใช้แปรงสีฟันแปรงบริเวณลิ้นเบา ๆ
6.เศษอาหารติดค้างอยู่ในร่อง (crypts) ของต่อมทอนซิล
นิ่วทอนซิลโดยทั่วไปสามารถหลุดออกเองได้
ถ้าหากพบทันตแพทย์แล้วยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ก็ควรลองสำรวจสุขภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะการเกิดกลิ่นปากยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากปัญหาในช่องปากได้อีกค่ะ อาทิเช่น
- ระบบทางเดินหายใจ : เช่น โรคปอด ไซนัส
- ระบบทางเดินอาหาร : เช่น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน
- โรคอื่น ๆ : เช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน
- พฤติกรรมอื่น ๆ : เช่น การสูบบุหรี่