สึก เสียว แตก นอนกัดฟัน อันตรายกว่าที่คิด
#ฟันดีดี เชื่อว่า ทุกคน ‘ดูแลฟัน’ ด้วยการ ‘แปรงฟัน’ ทุกวันอยู่แล้ว
แต่ก็มีหลายคนที่เพิ่มการดูแล โดย ‘จัดเต็ม’ กับการ ‘ดูแลช่องปาก’ พกอุปกรณ์เสริมไว้ทำความสะอาดควบคู่กับการแปรงฟันอีกที
ลองมาเช็กดูกันดีกว่าว่าเรา ‘ดูแลฟัน’ ได้ถึงขั้นไหน?
เคยเป็นกันไหม? ตื่นมาแล้วรู้สึกปวดหัว ปวดขากรรไกร เมื่อยแก้ม แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ อย่าเพิ่งตกใจกันไป! เพราะนี่คืออาการของ ‘การนอนกัดฟัน’ นั่นเอง
‘นอนกัดฟัน’ เป็นอาการผิดปกติขณะนอนหลับ 😴 เกิดจากการขบฟันบนและฟันล่างถูซ้ำไปมาขณะนอนหลับจนก่อให้เกิดเสียงรบกวน หรือเป็นการขบเน้นฟันแน่น ๆ แบบไม่มีเสียง ทั้งสองนี้แบบมักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
คราวนี้ #ฟันดีดี จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบว่า ‘ทำไมเราจึงไม่ควรมองข้ามอาการนอนกัดฟัน’
การบดกัดฟันดูเผิน ๆ อาจเป็นแค่ปัญหาเสียงที่รบกวนคนข้างกายสำหรับใครหลายคน แต่ความจริงแล้วสามารถส่งผลร้ายเกินคาดต่อฟันของเราด้วยเช่นกัน 🦷
🔹 ‘นอนกัดฟัน’ เกิดขึ้นจากอะไร?
– ความเครียดและวิตกกังวล
เมื่อเกิดความเครียดร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด หรือ คอร์ติซอล (Cortisol) มาพร้อมกับ อะดรีนาลีน (Adrenaline) จนกล้ามเนื้อเกร็งจากการที่เลือดสูบฉีดเร็วขึ้น ทำให้เรากัดฟันเวลานอนหลับนั่นเอง
– สภาพฟันที่ผิดปกติ
ฟันที่มีลักษณะไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นฟันที่ซ้อนเก หรือช่องปากที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทนฟันแท้ ทำให้ฟันพยายามบดเคี้ยวฟันในส่วนที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ
– ทานยาปรับสารเคมีในสมอง
ในยารักษาอาการทางจิต จะมีคุณสมบัติที่ช่วยปรับสารเคมีในสมองและส่งผลต่อสมองและจิตใจ อย่างเช่น ยาที่ใข้รักษาอาการซึมเศร้า
– รับสารกระตุ้นประสาท
สารนิโคตินในบุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนจากชา กาแฟ และน้ำอัดลมส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของการนอนหลับ
– ความผิดปกติด้านการนอนหลับอื่น ๆ
การกัดฟันอาจพบร่วมกับโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ
🔹 ‘นอนกัดฟัน’ แล้ว เกิดผลเสียอย่างไร?
– การขบกันนั้นทำให้ฟันสึก ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน และส่งผลไปถึงรูปหน้าที่สั้นลง
– เกิดฟันร้าวหรือแตกจนทะลุโพรงประสาทฟัน และถึงขั้นสูญเสียฟันได้
– ปวดบริเวณแก้ม หน้าหู และข้อต่อขากรรไกร ส่งผลให้อ้าปากและเคี้ยวอาหารลำบากขึ้น
–ใบหน้าแลดูเหลี่ยมขึ้น เนื่องจากกระดูกกรามและกล้ามเนื้อบริเวณแก้มขยายออก
🔹วิธีป้องกันมีอะไรบ้าง?
– ฝึกการผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่ชอบ เพื่อลดความวิตกกังวล เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือฟังเพลง
– งดเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอลล์ และการสูบบุหรี่
–ใส่เฝือกสบฟัน เฉพาะเวลานอนหลับเพื่อลดโอกาสการสึกของฟัน
ที่มา: โรงพยาบาลสุขุมวิท, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อย่าลืมกดติดตามเพจ ‘#ฟันดีดี’ เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ